Categories
News

จาะลึกศักยภาพ “คน” VS “AI” รับมือการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีแบบ Win-Win

จาะลึกศักยภาพ “คน” VS “AI” รับมือการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีแบบ Win-Win การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI), ระบบอัตโนมัติ (Automation) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ( 3D Printer) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามคำถามที่เรามักได้ยินและสร้างความหวั่นใจอยู่บ้าง นั่นคือ AI จะมาแย่งงานมนุษย์ (เงินเดือน) หรือเปล่า เราจะถูกแย่งงานไหม ต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร จะมีใครช่วยได้บ้าง และอีกมากมายหลายคำถามที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้มากนัก

ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น win-win กับทุกฝ่าย ส่วนผสมที่ลงตัว “มนุษย์ + AI” ?

รายงานจาก MIT ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภายใน 2020 AI จะกำจัดงานเก่าไป1.8 ล้านตำแหน่ง และจะสามารถสร้างงานใหม่ขึ้นมาประมาณ 2.3 ล้านตำแหน่ง เห็นได้ว่ามีสัดส่วนในการ “สร้างงาน” มากกว่า “แย่ง/กำจัดงาน” ในเรื่องนี้เราอาจะสามารถมองเห็นปรากฎการณ์ยุค “อินเตอร์เน็ต” ได้ ว่านำมาซึ่การสร้างอาชีพใหม่ๆ อย่างมหาศาล

ในรายงานระบุว่า ในอนาคตจะมีงานเช่น ตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่การฝึกฝนความเห็นอกเห็นใจ” (Emphaty Trainer) ซี่งดูอาจจะไม่คุ้นมากนัก แต่ใครจะรู้ว่าในอนาคตตำแหน่งนี้ อาจะเป็นตำแหน่งธรรมดาๆ เหมือน ครู ทนายความ ในยุคนี้ก็ได้ ดังนั้น การทำความเข้าและยอมรับเพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อให้ “มนุษย์” สามารถใช้ประโยชน์จากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ (Emerging Technology) มากที่สุด

อีกทั้งในความเป็นจริงแล้ว “AI” คงไม่สามารถแย่งงาน “มนุษย์” ได้ เพราะ “มนุษย์” เป็นผู้สร้าง (Makers) และอยู่เบื้องหลังการทำงานของ AI นั่นเอง ดังนั้น งานที่ AI สร้างจึงเป็นงานที่ AI ไม่สามารถทำได้และต้องพึ่งพาความรู้สึกความสามารถของ “มนุษย์” เป็นหลัก ซึ่งเป็นงานที่ไม่ใช่ทาง “เทคนิค” (Tehcnical Skills) ที่ AI สามารถลุยเดี่ยวเองได้

แต่เป็นงานที่ต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความเห็นอกเห็นใจ (Emphaty) การสื่อสาร (Communication) ซึ่ง AI ยังไม่ไปถึงขั้นนั้นและมนุษย์ทำได้ดีกว่าหุ่นยนต์/AI แน่นอน ดังนั้น ความสามารถของ “มนุษย์” และ “ AI” จึงเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง “เทคนิค + ความสร้างสรรค์”นั่นเอง

“เศรฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) ต้นแบบมนุษย์ทำงานร่วมกับ AI

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น จากระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy)ที่ใกล้ตัวเรา เช่น Grab, Uber, และ AirBnB หรือแม้แต่ Platform Ecommerce เช่น Amazon, Alibaba, Lazada ล้วนแล้วแต่มี AI อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ในเรื่องการนำแนกสังเคราะห์ข้อมูล( Customise Data )ต่างๆ

เห็นได้ว่า platform เหล่านี้ได้สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนจำนวนมากมาย เพราะหุ่นยนต์ /AIไม่สามารถทำภารกิจต่างๆได้ถ้าไม่มี “คน” เข้ามาช่วย โดนเฉพาะในการสื่อสารและการบริการ ที่ “คน” ยังมีทักษะนี้สูงกว่า AI เสมอ อีกทั้งต้องเข้าใจว่า “คน” เป็นผู้เริ่มต้นเทคโนโลยีเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการตัด “คน” ออกจากกระบวนการผลิตสิ่งต่างๆ

แน่นอนว่าหุ่นยนต์และ AI อาจจะเข้ามาแทนที่งานเดิมๆ ของเราบ้าง แต่ยังเหลืองานอีกจำนวนมากให้กับ “คน” อย่างแน่นอน โดยเฉพาะงานที่เป็น “จุดอ่อน” ของหุ่นยนต์ และ งานที่เป็น”จุดแข็ง” ของคน นั่นเอง

ทั้งนี้หุ่นยนต์/AI ยังไม่สามารถทำภารกิจที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ได้ ยังไม่สามารถพูดจาโน้มน้าว ชักชวน จูงใจ ได้แบบที่ “คน”ทำได้ อีกทั้งยังไม่สามารถ “มีความคิดสร้างสรรค์” หาแนวทางใหม่ๆ มาแก้ปัญหาให้สังคมได้ด้วยตัวเอง

หุ่นยนต์ยังไม่มีพัฒนาการเรื่อง “ทักษะทางสังคม” เพราะฉะนั้น งานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น งานด้านการบริหารจัดการ งานการพยาบาล งานด้านศิลปะ/ศิลปิน และ ผู้ประกอบการต่างๆ งานเหล่านี้ยังต้องใช้ “คน” ทั้งหมด นอกจากนี้เรายังรู้อีกว่าถ้าเทคโนโลยีกลไกต่างๆ ไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ จะเกิดความน่าอีดอัดแค่ไหนและสุดท้ายก็ยังต้องให้ “คน” มาแก้ไขสถานการณ์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เรายังต้องการ “คน”ที่เก่งและเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีมา “รักษา/ซ่อมแซม/ปรับปรุง” หุ่นยนต์เหล่านี้แน่นอน เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเตรียมใจทำงานร่วมกับ “หุ่นยนต์” น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า