ประสิทธิภาพของฉนวนกันเสียง เนื่องจาก เมื่อเสียงเดินทางจากแหล่งกำเนิดมายังที่พื้นผิวผนังชั้นแรก ส่งผลให้พื้นผิวผนังเกิดการสั่นสะเทือนและส่งถ่ายพลังงานเสียงเข้าไปในช่องว่างของผนัง
โดยพลังงานเสียงที่เกิดขึ้นภายในช่องว่างของผนัง จะถูกสะสม และส่งผ่านมายังผนังอีกด้านหนึ่งได้มากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้ระบบผนังเบา หรือระบบผนังสองชั้น มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงลดลง
หรือพูดง่ายๆคือ เสียงทะลุเข้าไปในผนังเกิดความก้องภายในช่องว่าง และดันเสียงให้ทะลุมาอีกฝั่งได้ง่ายขึ้น ดังนั้น นักอคูสติกจึงประยุกต์ในการบรรจุวัสดุดูดซับเสียงประเภทเส้นใยไว้เข้าไปภายในช่องว่างของระบบผนังเบา หรือผนังสองชั้น เพื่อดูดซับพลังงานเสียงที่สะสมไว้ภายในช่องว่าง ซึ่งจากผลการทดลองปรากฏว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงของระบบผนังเบาเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 7-10 เดซิเบล โดยเฉพาะเสียงที่ความถี่กลางและสูง โดยที่ระบบผนังไม่จำเป็นต้องมีความหนามากขึ้น หรือใช้แผ่นยิปซั่มหรือสมาร์บอร์ดที่มีจำนวนชั้นมากขึ้นแต่อย่างใดครับ
ดังนั้นในการติดตั้งระบบผนังกันเสียง จึงนิยม กรุวัสดุดูดซับเสียงประเภทเส้นใยที่มีคุณสมบัติดูดซับเสียงที่สูงไว้ภายในช่องว่างของผนัง โดยแผ่น ISO – NOISE ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงที่สูง ทำให้สามารถทำลายพลังงานเสียงที่คงค้างภายในช่องว่างของผนังได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่าทำไมแผ่น ISO NOISE จะต้องใส่ในถุงพลาสติก โดยวัตถุประสงค์คือทำให้ขนส่งง่าย ติดตั้งง่าย เรียบร้อย ครับ เพราะแผ่น ISO NOISE มีลักษณะเป็นเส้นใย จึงถูกออกแบบให้ใส่ในถุงพลาสติกเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงาน และอีกทั้งยังไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงลดลง
เนื่องจากการศึกษาและวิจัยโดยการวัดประสิทธิภาพการป้องกันเสียงในห้องปฏิบัติการ เปรียบเทียบระหว่างระบบผนังที่กรุภายในด้วยแผ่น ISO NOISE ที่ใส่ถุงและไม่ใส่ถุง พบว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงที่ความถี่สูงลดลงเล็กน้อย เพียง 1-2 เดซิเบล โดยที่ความถี่ต่ำและกลางไม่ลดลงเลย จึงไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงโดยรวม เนื่องจากระบบผนังโดยทั่วไปจากป้องกันเสียงความถี่สูงได้ดีอยู่แล้ว จึงมั่นใจได้ว่า ฉนวน ISO NOISE คือองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงให้แก่ระบบผนังเบา และผนังสองชั้น โดยมีไม่เพิ่มความหนา น้ำหนักของผนังซึ่งเป็นภาระของโครงสร้าง
เรามาดูกันว่าห้องแบบไหน ที่เหมาะกับการติดตั้งฉนวนป้องกันเสียงบ้าง
1. ห้องนั่งเล่น ห้องดนตรี ดูหนังฟังเพลง
เดี๋ยวนี้เรามักจะทำกิจกรรมในบ้านกันมากขึ้น ทั้งดูหนัง เล่นเกม ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะร่วมกับทุกคนในครอบครัว เรียกว่าแต่ละบ้านมักจะมี Home Entertainment เพื่อการพักผ่อนที่มีความสุข แต่ห้องแบบนี้มักจะมีเสียงดังรบกวนไปยังห้องอื่น ๆ ได้ง่าย เพราะมีแต่อุปกรณ์ที่ต้องใช้เสียง การติดตั้งฉนวนกันเสียงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะป้องกันเสียงรบกวนจากด้านนอกแล้ว ยังช่วยเก็บเสียงภายในห้อง ลดเสียงก้อง เพิ่มอรรถรสในการพักผ่อนของเราได้มากขึ้นจริง ๆ โดยเราสามารถติดตั้งฉนวนกันเสียงได้ทั้งฝ้าเพดานและผนัง หรือติดตั้งไว้ในโครงผนังได้ด้วยเช่นกัน
2. ห้องรับแขก
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพื้นที่ที่ทุกคนในบ้านมาใช้งานร่วมกัน ทำให้เกิดมีเสียงดังมาก การติดตั้งฉนวนกันเสียงจะช่วยให้ห้องนั่งเล่นของเราดูสบาย ๆ ขึ้น เพราะช่วยลดเสียงก้อง เสียงสะท้อนภายในได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหากต้องทำกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน เราสามารถติดตั้งฉนวนได้ที่ผนังรอบ ๆ ด้าน เลือกโทนสีและดีไซน์ให้เหมาะกับห้องนั่งเล่นของเรา นอกจากป้องกันเสียงได้ดีแล้ว ยังเพิ่มเสน่ห์ให้กับห้องของเราได้อีกด้วย
3. ห้องนอน
ไม่ว่าจะเป็นห้องนอนในบ้าน หรือห้องนอนคอนโดมิเนียม ก็เหมาะกับการติดตั้งฉนวนกันเสียง เพราะเป็นพื้นที่พักผ่อนที่ต้องการความสงบเป็นส่วนตัว สามารถติดตั้งได้ทั้งฝ้าเพดานและผนังเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก สามารถเลือกฉนวนป้องกันเสียงที่มีสีสันและลวดลายต่าง ๆ เหมือนการตกแต่งห้องได้ด้วย หรืออาจจะใช้เพียงแค่บางจุดภายในห้องเพื่อช่วยลดเสียงก้องเสียงสะท้อน